เดิมชื่อเอี่ยม เป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด บ้านอยู่ริมคลองบางหว้า หลังวัดหนัง กำเนิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๙ ปีมะโรง จัตวาศก ตรงกับวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และมีนามสกุลว่า “ทองอู๋” ชาวบ้านบางขุนเทียนเรียกกันว่า “หลวงพ่อปู่เฒ่า” ส่วนบุคคลทั่วๆ ไป และนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย เรียกว่า “หลวงพ่อวัดหนัง” โยมบิดามารดามีชื่อว่า นายทอง และนางอู่ ซึ่งเป็นต้นตระกูล “ทองอู๋” ในขณะนี้ โยมทั้งสองท่าน ประกอบอาชีพเป็นชาวสวนและมีฐานะมั่นคง เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ บุคคลชั้นหลังของตระกูลนี้ขอใช้นามสกุลว่า “ทองอู่” อันเป็นนามรวมของโยมทั้ง ๒ แต่ต่อมาไม่นานนัก ก็ได้มีเจ้านายพระองค์หนึ่ง ทักท้วงว่าไปพ้องกับพระนามของเจ้าต่างกรมพระองค์เข้า จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น “ทองอู๋” สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
เครือญาติพี่น้องร่วมท้องเดียวกับพระภาวนาโกศลเถระ มีอยู่ด้วยกัน ๓ คนคือ โยมพี่สาวชื่อ นางเปี่ยม ทองอู๋ เป็นผู้รักษาศีลอุโบสถและไม่ได้แต่งงานมีครอบครัว ดังนั้นเมื่อสิ้นโยมบิดามารดาแล้ว จึงมาฝากไว้ในความอุปการะของนายทรัพย์ ทองอู๋ บิดาของนายพูน ทองพูนกิจ ผู้เป็นบุตรผู้พี่ของพระภาวนาโกศลเถระ คือนายเอม ทองอู๋
""""""""""""""""""""
การศึกษา
การศึกษาอักขร สมัยเมื่อพระภาวนาโกศลเถระ ยังเด็กอายุ ๙ ปี โยมทั้ง ๒ ของท่านได้นำมาฝาก เรียนหนังสือ ในสำนักพระครูธรรมถิดาญาณ หรือหลวงปู่รอด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนัง ราชวรวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ ในสมัยต่อมา ได้เป็นพระอาจารย์ วิทยาคม ของพระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) การศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี ท่านได้ศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม ในสำนักพระมหายิ้ม วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อจากนั้น ได้ไปอยู่ในสำนัก พระปิฎกโกศล (ฉิม) วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)
บรรพชา
ต่อมาท่านได้กลับมาบรรพชาเป็นสามเณร และศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่วัดหนัง ราชวรวิหาร สำนักเดิม ของท่าน อีกวาระหนึ่ง การศึกษาในระยะนี้ ดำเนินมาหลายปี ติดต่อกันจนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อท่าน อายุได้ ๑๙ ปี จึงได้เข้าสอบ แปลพระปริยัติธรรมสนามหลวง ซึ่งสมัยนั้น ต้องเข้าสอบแปลปากเปล่า ต่อหน้าพระพักตร์ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
แต่น่าเสียดายที่ท่านสอบพลาดไป เลยลาสิกขาบท
กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพอยู่ระยะหนึ่ง
อุปสมบท
อาจจะเป็นด้วยบุญกุศลที่จะต้องเป็นสมณะเพศเพื่อพระศาสนา เพื่อการฟื้นฟูปฏิสังขรณ์สังฆาวาส เสนาสนะ แห่งวัดนี้ ให้ฟื้นฟูคืนจากสภาพอันเสื่อมโทรมขึ้นสู่ยุคอันรุ่งเรืองสูงสุด ในกาลสมัยต่อมา หรือเพื่อความเป็น พระเกจิอาจารย์ ชั้นเยี่ยมแห่งองค์พระกษัตราธิราชเจ้า และเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ของบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลาย ท่านจึง หันกลับเข้ามาสู่ร่มเงาแห่งกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้จากไปเพียง ๓ ปีเท่านั้น ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านได้เข้ามาอุปสมบท ตามขนบจารีตอันดั้งเดิมของชาวไทย เพื่อสืบต่อพระบวรพุทธศาสนา และเพื่อแสดง กตเวทิตธรรม แด่โยมผู้บุพการีทั้งสอง ซึ่งได้ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดราชโอรสาราม (วัดจอมทอง)
อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี (เขตจอมทอง กรุงเทพฯในปัจจุบัน)
พระอุปัชฌาย์ได้ขนานนามว่า “สุวณฺณสโร”
พระสุธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระธรรมเจดีย์ (จีน) กับพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) เป็นคู่กรรมวาจาจารย์
จริยาวัตร
หลวง ปู่พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม)
ปฏิบัติกิจวัตรเป็นประจำวันของท่านอย่างสม่ำเสมอเป็นปกติ เช่น การลงอุโบสถ แม้ฝนจะตกบ้างเล็กน้อยท่านก็เดินกางร่มไปซึ่งกุฏิของท่านอยู่ห่างประมาณ ๕๐ เมตร ขณะนี้ได้รื้อปลูกใหม่เป็นหอภาวนาโกศลไว้ที่เดิม น่าเสียดายควรจะได้ซ่อมแซมไว้เป็นที่ระลึก ให้กุลบุตรกุลธิดาไว้ศึกษาเป็นของเก่า เช่น กุฎีสมเด็จโตวัดระฆัง เป็นต้น
พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม)
ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเคารพนับถือเป็นการส่วนพระองค์ ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ในหลวงจะได้รับสั่งให้ขุนวินิจฉัยสังฆการีนิมนต์เข้าไปในงานพระราชพิธีต่าง ๆ
อาทิ ฉัตรมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น โดยคุณพ่อพูน ทองพูนกิจ เป็นไวยาวัจกร เมื่ออายุ ๑๔ – ๑๕ ปี ได้ติดตามเข้าไปในพระที่นั่งอมริทร์วินิจฉัย ถ้าหากเป็นพระราชพิธีในตอนเช้า หลวงปู่เฒ่าจะต้องไปค้างแรมที่วัดพระเชตุพนกับพระราชาคณะผู้ใหญ่รูปหนึ่งที่ ชอบพอกัน
ใน การเดินทางไปสมัยนั้น ต้องไปด้วยเรือแจวของหลวงประจำวัด ถ้าไม่ค้างคืนก็จอดเรือขึ้นที่ตลาดท่าเตียน วัดโพธิ์ เดินไปพระราชวังเข้าทางประตูวิเศษไชยศรีใกล้หน่อย ถ้าไปค้างแรมต้องไปจอดที่ท่าราชวรดิษฐ์ ฝากทหารเรือให้ช่วยดูแลอีกทีหนึ่ง
คงจะสงสัยว่า ไวยาวัจกรหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเด็กวัดนั้น จะแต่งกายติดตามหลวงปู่เฒ่าเข้าไปในพระราชวังได้อย่างไร คุณพ่อเล่าให้ฟังว่า ต้องแต่งตัวแบบประเพณีนิยม นุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนใส่เสื้อราชประแตนกระดุม ๕ เม็ด หลวงปู่เฒ่าท่านสั่งตัดและจัดหามาให้ใส่ ขณะเมื่อถึงแก่กรรมเสื้อตัวนี้ยังอยู่ เพราะตัดด้วยผ้าของนอกอย่างดีในสมัยนั้น
ยังมีเรื่องที่คุณพ่อเล่าให้ฟังว่า ขุนวินิจฉัยสังฆการีเคารพและนับถือหลวงปู่เฒ่ามาก ถ้าไม่มีราชการก็จะมาเยี่ยมเยียนทุกข์สุข มาครั้งใดเมื่อลากลับหลวงปู่เฒ่าจะให้ปัจจัยไปทุกครั้ง ๆ ละ ๑ บาท เพราะท่านขุนผู้นี้ชอบเล่นหวย ก.ข. มาทีไรขอหวยกับหลวงปู่เฒ่าทุกที แต่ท่านได้แต่หัวเราะแล้วเฉยเสีย
ที่สุดในวงการ๏...จักพรรดิแห่งเบญจภาคี เหรียญพระเกจิอาจารย์ ...แห่งสยาม ...๚ะ๛
..............................
การจัดชุดพระเครื่องเบญจภาคี ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง พระลีลาเม็ดขนุน (ซุ้มกอป พระรอด พระผงสุพรรณ และพระนางพญา
นอกจากนี้แล้วยังมีการจัด.....
เบญจภาคีชุดเหรียญพระเกจิอาจารย์ อีกด้วย ซึ่งได้จัดเรียงตามลำดับของความนิยมนั้น ก็มีดังนี้
๑. ๏.. . เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กทม. ...๚ะ๛ ...ซึ่งครองตำแหน่งจักพรรดิแห่งเหรียญคู่กับ... ๏.. .เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อยุธยา ...๚ะ๛
๒. ๏.. .เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท...๚ะ๛
๓ ๏.. . เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสาคร...๚ะ๛ .
๔. ๏.. . เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กทม. ...๚ะ๛
๕. ๏.. . เหรียญหลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม เพชรบุรี...๚ะ๛
..............................................................................
.......................................................
หลักการดู เหรียญเบญจภาคี
1. ดูความชัดเจนของเหรียญ ความลึกขององค์หลวงพ่อ และตัวหนังสือ ตลอดจนความเรียบร้อยของเหรียญ
2. ดูเนื้อของเหรียญ และความเก่าของเหรียญ
3. ดูพื้นเหรียญ เหรียญเบญจภาคีส่วนใหญ่ เป็นเหรียญปั๊ม พื้นผิวจึงเรียบ ไม่ขรุขระ
4. ดูขอบเหรียญ เหรียญที่สร้างก่อน
พ.ศ.2500 (((...ขอบเหรียญจะมีรอยเลื่อย....)))
ในบรรดาเหรียญพุทธคุณที่ได้รับความนิยมยกย่องจบจนสูงสุด อาจจัดได้ว่า
เป็น (((ราชา แห่งเหรียญเกจิอาจารย์ )))
ดุจดังสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งนับเป็นจักรพรรดิหรือราชาแห่งพระเครื่อง
((( เหรียญวัดหนัง )))
เป็นเหรียญที่ ได้รับความนิยมอย่างสูง จากบรรดานักสะสมพระในยุคนี้
คำว่า “เหรียญคุณพระ”
หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า “เหรียญ” นั้น หมายถึงสิ่งที่สร้างด้วยโลหะ วัตถุมีสัณฐานทรวดทรงแบน และมีห่วงห้อยเพื่อคล้อง กับสายสร้อย หรือเข็มกลัดได้
ส่วนมากผลิตขึ้น ด้วยวิธีปั๊ม ลักษณะเหรียญวัดหนังในที่นี้ หมายถึง
รูปเหรียญของหลวงปู่เฒ่า
พระภาวนาโกศลเถระ ( เอี่ยม)
เท่านั้น จัดเป็นเหรียญประเภทเต็มองค์ กรอบเป็นรูปเสมา องค์หลวงปู่เฒ่านั่งอยู่บนอาสนะ โต๊ะขาสิงห์ชั้นเดียว เรือนกรอบของเสมา
เป็นลวดลายประคำ และลายหูช้าง ขอบบนเป็นลอน ๓ ลอน
และปลายสุดเบื้องล่างเป็นลายดอกกุดั่น
นับว่าเป็นเหรียญคุณพระ ประเภทเกจิอาจารย์เต็มองค์
มีลวดลายงดงามชัดเจน ตลอดจน ทรวดทรง ได้สัดส่วนที่สุด จัดเป็น(((เหรียญอันดับหนึ่ง )))
ในประเภทเดียวกัน
หรือจะกล่าวได้ว่า ในประเทศไทยแล้ว ไม่มีรูปเหรียญเกจิอาจารย์องค์ใด จะสวยงามเท่ากับเหรียญวัดหนัง
และ(((มีมูลค่าสูงที่สุดในขณะนี้ )))
ซึ่งสามารจำแนกพิมพ์ทรงเบื้องต้น ของเหรียญออกไปตามลักษณะของยันต์ด้านหลังรูปเหรียญได้เป็น ๒ พิมพ์ทรง คือ....
๑. พิมพ์ทรงยันต์สี่
๒. พิมพ์ทรงยันต์ห้า
เป็น (((ราชา แห่งเหรียญเกจิอาจารย์ )))
ดุจดังสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งนับเป็นจักรพรรดิหรือราชาแห่งพระเครื่อง
((( เหรียญวัดหนัง )))
เป็นเหรียญที่ ได้รับความนิยมอย่างสูง จากบรรดานักสะสมพระในยุคนี้
คำว่า “เหรียญคุณพระ”
หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า “เหรียญ” นั้น หมายถึงสิ่งที่สร้างด้วยโลหะ วัตถุมีสัณฐานทรวดทรงแบน และมีห่วงห้อยเพื่อคล้อง กับสายสร้อย หรือเข็มกลัดได้
ส่วนมากผลิตขึ้น ด้วยวิธีปั๊ม ลักษณะเหรียญวัดหนังในที่นี้ หมายถึง
รูปเหรียญของหลวงปู่เฒ่า
พระภาวนาโกศลเถระ ( เอี่ยม)
เท่านั้น จัดเป็นเหรียญประเภทเต็มองค์ กรอบเป็นรูปเสมา องค์หลวงปู่เฒ่านั่งอยู่บนอาสนะ โต๊ะขาสิงห์ชั้นเดียว เรือนกรอบของเสมา
เป็นลวดลายประคำ และลายหูช้าง ขอบบนเป็นลอน ๓ ลอน
และปลายสุดเบื้องล่างเป็นลายดอกกุดั่น
นับว่าเป็นเหรียญคุณพระ ประเภทเกจิอาจารย์เต็มองค์
มีลวดลายงดงามชัดเจน ตลอดจน ทรวดทรง ได้สัดส่วนที่สุด จัดเป็น(((เหรียญอันดับหนึ่ง )))
ในประเภทเดียวกัน
หรือจะกล่าวได้ว่า ในประเทศไทยแล้ว ไม่มีรูปเหรียญเกจิอาจารย์องค์ใด จะสวยงามเท่ากับเหรียญวัดหนัง
และ(((มีมูลค่าสูงที่สุดในขณะนี้ )))
ซึ่งสามารจำแนกพิมพ์ทรงเบื้องต้น ของเหรียญออกไปตามลักษณะของยันต์ด้านหลังรูปเหรียญได้เป็น ๒ พิมพ์ทรง คือ....
๑. พิมพ์ทรงยันต์สี่
๒. พิมพ์ทรงยันต์ห้า
เชื่อหรือไม่??
(((...เหรียญวัดหนังเนื้อทองแดง แพงกว่าเนื้อเงิน ...)))
เนื่องจากหายากกว่ามากเลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะในอดีตนั้นเนื้อทองแดงหายากกว่าเนื้อเงิน
มีการประมาณกันว่า ถ้าพบเนื้อเงิน ๕ เหรียญ จะพบเหรียญทองแดงสัก ๑ เหรียญ
.....................................
ค่านิยมของเหรียญเนื้อทองแดงที่มีสูงกว่าเนื้อเงิน เช่น....
เหรียญหลวงพ่อโสธรปี ๒๔๖๐
เหรียญหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ เป็นต้น
......................................
พิมพ์ทรงยันต์สี่
พิมพ์ทรงนี้เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นรุ่นปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญปี พ.ศ. ๒๔๖๗
อีกทั้งพิมพ์ทรง ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ แบบพิมพ์ตามชุดที่สร้างขึ้น ๒ ชุดด้วยกัน ซึ่งใช้แม่พิมพ์คนละอันเนื่องจาก
แม่พิมพ์ชุดแรกเกิดแตกร้าวขึ้น ในระหว่างการสร้าง ชุดแรกจึงเป็นอันต้องยุติไว้ แล้วสร้างแม่พิมพ์ขึ้นใหม่
แบบพิมพ์มีลักษณะต่างกันเล็กน้อย ที่สังเกตง่ายก็คือ
(((ทางด้านหลังของเหรียญ จะมีจำนวนลูกประคำ ภายในเส้นกรอบคู่ไม่เท่ากันคือ เหรียญชุดแรกจะมีจำนวนลูกประคำ ((( น้อย )))กว่าเหรียญชุดหลัง ))))
นายเนียน ฯ บ้านอยู่กรุงเทพ ฯ เป็นนายช่างแกะบล็อกและปั๊มรูปเหรียญ โดยการชักนำจาก นายกิ่ม ฯ บ้านอยู่ปลายคลองบางหว้า เป็นผู้นำมา
โดยกำหนดแบบพิมพ์ของเหรียญพิมพ์ทรงนี้เป็น ๒ แบบพิมพ์คือ
แบบพิมพ์สามจุด คือแบบพิมพ์ที่สร้าง(((ชุดแรก)))
ซึ่งด้านขวามีจำนวนลูกประคำ ๓ ลูก จึงเรียกแบบสามัญว่า
“แบบพิมพ์สามจุด”
แบบพิมพ์สี่จุด
เป็นแบบพิมพ์ที่สั่งสร้างชุดหลัง ลูกประคำในกรอบเส้นคู่ของด้านขวาบน มากกว่าของแบบพิมพ์สามจุดอยู่ ๑ จุด ฉะนั้นจึงเรียกกันว่า
“แบบพิมพ์สี่จุด” อนึ่งจำนวนจุดที่แตกต่างกันของลูกประคำนี้ มิใช่จะปรากฏเฉพาะบริเวณด้านขวา ของด้านหลังเท่านั้นไม สำหรับมุมอื่น ๆ ก็มีข้อแตกต่างกันในลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ อีกด้วย
.............................
เหรียญหลวงปู่เฒ่าท่านมิได้สร้างเพื่อจำหน่ายเหมือนเช่นขณะนี้ ต้องมีการโฆษณาทางสื่อมวลชน ในการบูรณะซ่อมแซมศาลาการเปรียญ
ทางวัดยังขาดทุนทรัพย์จึงได้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่มาเทศน์น์์เพื่อเป็นการอบรมจิตใจของพุทธศาสนิกชนไปพร้อมกัน
แต่ในการนี้ ได้แจกฎีการับขันกัณฑ์เทศน์ไปด้วย
ผู้ที่ตั้งขันตั้งแต่ ๒ บาทขึ้นไป ทางวัดจะมอบของที่ระลึกคือเหรียญหลวงปู่เฒ่าสร้างด้วยเนื้อเงิน ๑ เหรียญ
ส่วนผู้ที่บริจาคตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป จะได้รับเหรียญที่สร้างด้วยทองแดง ๑ เหรียญ
หรือจะติดต้นเทียน ขณะที่แสดงพระธรรมเทศนาก็ได้ ทางวัดก็มองเหรียญให้เช่นกัน
ผู้ที่ติดเทียนไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รูปถ่ายหลวงปู่ไว้สักการบูชา เป็นต้น...
(((...เหรียญวัดหนังเนื้อทองแดง แพงกว่าเนื้อเงิน ...)))
เนื่องจากหายากกว่ามากเลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะในอดีตนั้นเนื้อทองแดงหายากกว่าเนื้อเงิน
มีการประมาณกันว่า ถ้าพบเนื้อเงิน ๕ เหรียญ จะพบเหรียญทองแดงสัก ๑ เหรียญ
.....................................
ค่านิยมของเหรียญเนื้อทองแดงที่มีสูงกว่าเนื้อเงิน เช่น....
เหรียญหลวงพ่อโสธรปี ๒๔๖๐
เหรียญหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ เป็นต้น
......................................
พิมพ์ทรงยันต์สี่
พิมพ์ทรงนี้เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นรุ่นปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญปี พ.ศ. ๒๔๖๗
อีกทั้งพิมพ์ทรง ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ แบบพิมพ์ตามชุดที่สร้างขึ้น ๒ ชุดด้วยกัน ซึ่งใช้แม่พิมพ์คนละอันเนื่องจาก
แม่พิมพ์ชุดแรกเกิดแตกร้าวขึ้น ในระหว่างการสร้าง ชุดแรกจึงเป็นอันต้องยุติไว้ แล้วสร้างแม่พิมพ์ขึ้นใหม่
แบบพิมพ์มีลักษณะต่างกันเล็กน้อย ที่สังเกตง่ายก็คือ
(((ทางด้านหลังของเหรียญ จะมีจำนวนลูกประคำ ภายในเส้นกรอบคู่ไม่เท่ากันคือ เหรียญชุดแรกจะมีจำนวนลูกประคำ ((( น้อย )))กว่าเหรียญชุดหลัง ))))
นายเนียน ฯ บ้านอยู่กรุงเทพ ฯ เป็นนายช่างแกะบล็อกและปั๊มรูปเหรียญ โดยการชักนำจาก นายกิ่ม ฯ บ้านอยู่ปลายคลองบางหว้า เป็นผู้นำมา
โดยกำหนดแบบพิมพ์ของเหรียญพิมพ์ทรงนี้เป็น ๒ แบบพิมพ์คือ
แบบพิมพ์สามจุด คือแบบพิมพ์ที่สร้าง(((ชุดแรก)))
ซึ่งด้านขวามีจำนวนลูกประคำ ๓ ลูก จึงเรียกแบบสามัญว่า
“แบบพิมพ์สามจุด”
แบบพิมพ์สี่จุด
เป็นแบบพิมพ์ที่สั่งสร้างชุดหลัง ลูกประคำในกรอบเส้นคู่ของด้านขวาบน มากกว่าของแบบพิมพ์สามจุดอยู่ ๑ จุด ฉะนั้นจึงเรียกกันว่า
“แบบพิมพ์สี่จุด” อนึ่งจำนวนจุดที่แตกต่างกันของลูกประคำนี้ มิใช่จะปรากฏเฉพาะบริเวณด้านขวา ของด้านหลังเท่านั้นไม สำหรับมุมอื่น ๆ ก็มีข้อแตกต่างกันในลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ อีกด้วย
.............................
เหรียญหลวงปู่เฒ่าท่านมิได้สร้างเพื่อจำหน่ายเหมือนเช่นขณะนี้ ต้องมีการโฆษณาทางสื่อมวลชน ในการบูรณะซ่อมแซมศาลาการเปรียญ
ทางวัดยังขาดทุนทรัพย์จึงได้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่มาเทศน์น์์เพื่อเป็นการอบรมจิตใจของพุทธศาสนิกชนไปพร้อมกัน
แต่ในการนี้ ได้แจกฎีการับขันกัณฑ์เทศน์ไปด้วย
ผู้ที่ตั้งขันตั้งแต่ ๒ บาทขึ้นไป ทางวัดจะมอบของที่ระลึกคือเหรียญหลวงปู่เฒ่าสร้างด้วยเนื้อเงิน ๑ เหรียญ
ส่วนผู้ที่บริจาคตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป จะได้รับเหรียญที่สร้างด้วยทองแดง ๑ เหรียญ
หรือจะติดต้นเทียน ขณะที่แสดงพระธรรมเทศนาก็ได้ ทางวัดก็มองเหรียญให้เช่นกัน
ผู้ที่ติดเทียนไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รูปถ่ายหลวงปู่ไว้สักการบูชา เป็นต้น...
พิมพ์ทรงยันต์5
พิมพ์ทรงยันต์ห้า (บลอคในภาพ หายากสุดๆ ขอรับท่าน)
ขอขอบคุน คุณ นพดร เอี่ยมศิลา เจ้าของ พระ
เหรียญวัดหนังพิมพ์ทรงนี้
เป็นรุ่นที่ ๒ คือสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นปีที่หลวงปู่เฒ่ามรณภาพ
วัตถุประสงค์ในการสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นกับทั้งปรับปรุงให้สวยงามกว่า เหรียญรุ่นแรก
สร้างด้วย
(((เนื้อทองแดง แต่มีสีสันคล้ำแบบเนื้อสำฤทธิ์กล่าวกันว่าพิมพ์นี้แก่ไฟเนื้อดำคล้ำ )))
นักสะสมพระนิยมพิมพ์นี้กันมาก เพราะยากต่อการปลอมแปลง
พระปลัดแจ้งฐานานุกรม ของพระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) ได้มาขออนุญาตสร้าง
เพื่อเป็นโอกาสสุดท้ายจำนวน
(((๑,๐๐๐ เหรียญ )))
มุ่งหมายเพื่อไว้สมนาคุณ แก่ผู้ที่บริจาคปัจจัย ในงานพระราชทานเพลิงศพ ซึ่งคาดว่าจะต้องมาถึงในโอกาสข้างหน้า
มูลค่าเหรียญละ ๑ บาท
ขอขอบคุน คุณ นพดร เอี่ยมศิลา เจ้าของ พระ
เหรียญวัดหนังพิมพ์ทรงนี้
เป็นรุ่นที่ ๒ คือสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นปีที่หลวงปู่เฒ่ามรณภาพ
วัตถุประสงค์ในการสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นกับทั้งปรับปรุงให้สวยงามกว่า เหรียญรุ่นแรก
สร้างด้วย
(((เนื้อทองแดง แต่มีสีสันคล้ำแบบเนื้อสำฤทธิ์กล่าวกันว่าพิมพ์นี้แก่ไฟเนื้อดำคล้ำ )))
นักสะสมพระนิยมพิมพ์นี้กันมาก เพราะยากต่อการปลอมแปลง
พระปลัดแจ้งฐานานุกรม ของพระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) ได้มาขออนุญาตสร้าง
เพื่อเป็นโอกาสสุดท้ายจำนวน
(((๑,๐๐๐ เหรียญ )))
มุ่งหมายเพื่อไว้สมนาคุณ แก่ผู้ที่บริจาคปัจจัย ในงานพระราชทานเพลิงศพ ซึ่งคาดว่าจะต้องมาถึงในโอกาสข้างหน้า
มูลค่าเหรียญละ ๑ บาท
ลักษณะทั่วไปของเหรียญยันต์ห้ารุ่นนี้งดงามมากเพราะได้ดัดแปลง ปรับปรุงรายละเอียด
ต่าง ๆ บางประการให้เด่นชัด
และแตกต่างไปจากเหรียญทรงยันต์สี่ เพื่อประโยชน์ทั้งในด้านความงาม และความสังเกตให้เห็นถึงความแตกต่างดังกล่าว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านหลังของเหรียญ ได้ออกแบบยันต์ใหม่ เป็น
“ยันต์พระเจ้าห้าพระองค์”
ดังนั้นจึงมีชื่อว่า
((( “เหรียญพิมพ์ทรงยันต์ห้า” )))
เหรียญรุ่นนี้สร้างเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ครับท่าน...
ขอ ขอบคุณ คุณ นพดร เอี่ยมศิลา เจ้าของภาพ เหรียญหลวงปู่เอี่ยมยันต์ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น